1. กรณีจดในนามของ บุคคลธรรมดา เอกสารที่ใช้ประกอบการขอจดลิขสิทธิ์ คือ
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
1.3 สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
2. กรณีจดในนามของ นิติบุคคล เอกสารที่ใช้ประกอบการขอจดลิขสิทธิ์ คือ
2.1 สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ
2.2 สำเนา ภพ.20
2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ ** เอกสารประกอบทุกชุดต้องรับรองสำเนาถูกต้อง**
3. ขนาดของสถานประกอบการและประเภทที่จะขอจดลิขสิทธิ์ (ขนาดจำนวนห้อง จำนวนโต๊ะที่นั่ง ประเภทคาราโอเกะ / เปิดเพลงออดิโอ)
4. ภาพถ่ายร้านค้า (เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการ)
เลขที่ใบ Invoice คือ เลขของใบแจ้งหนี้ ซึ่งลูกค้าจะได้รับพร้อมกับสติ๊กเกอร์ โดยในใบแจ้งหนี้จะระบุ ชื่อผู้จดสัญญา เลขที่สัญญา ประเภทสัญญาที่จด ระยะเวลาสัญญา ราคาค่าลิขสิทธิ์ตามประเภทของสถานประกอบการต้องชำระกับทางบริษัทฯ (สามารถดูตัวอย่างใบแจ้งหนี้ได้ที่หัวข้อข่าวสารหน้าเว็ปไซต์ www.gmm-mpi.com) ท่านผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบเลขที่ใบแจ้งหนี้ได้ที่มุมขวาด้านบนสุด ซึ่งจะมีจำนวนตัวเลขทั้งหมด 10 หลัก โดยจะขึ้นต้นด้วยเลขท้ายของปี พ.ศ ที่ผลิตใบแจ้งหนี้นั้น เช่น 5843_ _ _ _ _ _
กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายลิขสิทธิ์ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-6698408
เมื่อท่านผู้ประกอบการต้องการขออนุญาตรับสิทธิเผยแพร่ ท่านสามารถติดต่อขอรับสิทธิเผยแพร่ได้ โดยทางบริษัท ฯ ได้แบ่งเจ้าหน้าที่ในการดูแลเป็น 2 แบบ คือ 1.พนักงานของบริษัทฯ และ 2.ตัวแทนจำหน่าย หากในกรณีที่มีผู้มาตรวจสอบการใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ ภายในสถานประกอบการของท่านควรจะขอดูบัตรประจำตัวของทางเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการแอบอ้างและใช้สิทธิในการจับกุมดำเนินคดีในการข่มขู่หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากท่าน หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายสิขสิทธิ์หรือ ในกรณีที่สงสัยว่ามีผู้แอบอ้างและ กระทำ การข่มขู่ กรุณาติดต่อที่ GMM MPI จำกัด โทรศัพท์หมายเลข 0-2669-9000 ต่อ 8383 , 8384 , 8385
ในกรณีที่มีผู้มาตรวจสอบการใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ ภายในสถานประกอบการของท่านควรจะขอดูบัตรประจำตัวของทาง เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้าง และใช้สิทธิในการจับกุมดำเนินคดีในการข่มขู่หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จาก ท่านหากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์หรือ ในกรณีที่สงสัยว่ามีผู้แอบอ้างและ กระทำ การข่มขู่ กรุณาติดต่อที่ GMM MPI จำกัด โทรศัพท์หมายเลข 0-2669-9000 ต่อ 8383 , 8384 , 8385
เมื่อผู้ประกอบการได้จัดทำขอรับสิทธิเผยแพร่กับ ทางตัวแทนของทางบริษัท GMM Music Publishing International แล้วท่านจะได้รับ • สติ๊กเกอร์หรือใบอนุญาตฯ ตามจำนวนจอที่ท่านได้ทำหนังสือขอรับสิทธิกับทางบริษัทฯ และท่านจะต้องนำ ติดที่ตู้ / จอ ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนง่ายต่อการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่
1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หรือให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท ถ้ากระทำความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการขายมีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อหรือเสนอให้เช่าซื้อ นำเข้าในราชอาณาจักร เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือแจกจ่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท และถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่า กรรมการ หรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคล นั้นเป็นผู้กระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เงินแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้น ได้กระทำโดยที่ตนมิได้รู้เห็น หรือ ยินยอมด้วย บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกปรับให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะถูกปรับด้วยเช่นกัน ส่วนค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี การได้รับค่าปรับ ดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง สำหรับที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่ เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น
การละเมิดลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ได้จำแนกลักษณะการละเมิดลิขสิทธิ์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง ได้แก่ การทำซ้ำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น การทำซ้ำสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ทั้งนี้ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดโดย ไม่รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นต้น การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว ยังรวมการห้ามมิให้ดัดแปลง หรือ เผยแพร่สิ่งบันทึกเสียง หรือโสตทัศนวัสดุต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย 2. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม ได้แก่ การกระทำทางการค้าหรือการกระทำการที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ที่กล่าวข้างต้น หากผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น และมีส่วนในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานนั้น เพื่อหาผลกำไรให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำการดังต่อไปนี้ – ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ – เผยแพร่ต่อสาธารณชน – แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ – นำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
การบันทึกงานอันมีลิขสิทธิ์ของสมาชิก MPI ลงในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเก็บข้อมูล หรือสำเนาลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นใดเพื่อนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยมิได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานสิ่งบันทึกเสียงและอาจนำไปสู่การดำเนินการทางกฏหมาย การไม่ขออนุญาตทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นอกจากความรับผิดทางแพ่งแล้ว ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ยังกระทำความผิดในทางอาญา ตามมาตรา 69 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และบทโทษนั้น มีตั้งแต่การปรับเงิน การจำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับในการกระทำผิดดังกล่าว
สถานประกอบการใดก็ตามที่มีการทำสำเนางานสิ่งบันทึกเสียงของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิในสิ่งบันทึกเสียงที่เป็นสมาชิก MPI และจัดเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเก็บข้อมูล หรือสำเนาลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นใด เพื่อเผยแพร่ในสถานประกอบการ “ต้อง” แจ้งขอใบอนุญาตเพื่อการทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียง
สืบเนื่องจากปัจจุบันมีสถานประกอบการเพื่อการค้าเป็นจำนวนมากที่ใช้ระบบเก็บเพลงด้วยคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นๆ เพื่อทำสำเนาลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นใดเพื่อเผยแพร่ในสถานประกอบการ ซึ่งการทำสำเนาดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถานประกอบการจำนวนมาก มิได้เล่นเพลงจากแผ่นซีดีหรือสิ่งบันทึกเสียงอื่นๆ แต่เป็นการเล่นเพลงจากบันทึกงานเพลงในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเก็บข้อมูลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการทำสำเนาของสิ่งบันทึกเสียงลงในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเก็บข้อมูล หรือสำเนาลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นใด จึงต้องมีการขออนุญาตเพื่อการทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียง จาก MPI เพื่อให้เป็นตามกฏหมายลิขสิทธิ์ เนื่องจาก MPI ได้รับมอบหมายจากบริษัทเจ้าของสิทธิในงานสิ่งบันทึกเสียงให้เป็นผู้ออกใบอนุญาตทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว
ใบอนุญาตการเผยแพร่เพลง (Licence) คือ ใบอนุญาตที่เจ้าของลิขสิทธิ์เพลงออกให้แก่ธุรกิจต่างๆ เพื่อให้การรับรองว่าธุรกิจดังกล่าวได้ชำระค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของสิทธิแล้วอย่างถูกต้อง และผู้ที่มีใบอนุญาตจะสามารถใช้เพลงของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์อีก อย่างไรก็ดีผู้รับอนุญาตควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าใบอนุญาตและสัญญาให้อนุญาตนั้นครอบคลุมการใช้งานในรูปแบบใดบ้างและรวมทั้งตรวจสอบระยะเวลาสิ้นสุดการอนุญาตให้ชัดเจน
นอกเหนือจากการเปิดเพลงฟังเองในบ้าน ในที่ทำงาน หรือในรถ ทุกคนที่นำเพลงไปเปิดให้ผู้อื่นรับชมฟังต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น อาทิเช่น การจัดการแสดงเพลง (ทั้งแสดงสด คอนเสิร์ต และการบรรเลง) การเปิดเพลงในร้านค้า/ร้านอาหาร การเปิดเคเบิ้ลทีวีให้ลูกค้ารับชม การมีตู้เพลงหรือตู้คาราโอเกะที่เปิดเพลงสตริง ลูกทุ่ง สากล รวมถึงการที่ห้างร้านต่างๆ เปิดรายการวิทยุซึ่งเปิดเพลงที่มีลิขสิทธิ์ให้ผู้อื่นรับชมรับฟังด้วย
ในความหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ การเผยแพร่ต่อสาธารณชน คือ การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การบรรเลง การทำให้ปรากฏเสียงและหรือภาพ การจำหน่ายหรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น หรือความหมายง่ายๆ ก็คือ นำเพลงไปเปิดให้ผู้อื่นได้รับชมรับฟัง ซึ่งตามกฏหมายแล้ว ผู้ที่มีสิทธินำเพลงออกเผยแพร่คือเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์เท่านั้น